bully

bully ในโรงเรียน ประเด็นสำคัญที่สังคมไม่ควรมองข้าม

bully หรือ ปัญหาการกลั่นแกล้งกัน ในโรงเรียนยังเป็นเรื่องที่พบเห็นได้บ่อย ยิ่งในปัจจุบันการเข้าถึงโซเชียลมีเดียทำให้การบูลลี่ในโรงเรียนถูกพัฒนาจนเกิดการกระทำที่เรียกว่า “ไซเบอร์บูลลี่ (Cyberbullying)” และความรุนแรงของการกระทำเหล่านี้หนักมากยิ่งขึ้นจนทำให้เหยื่อหลายคนพยายามที่จะจบชีวิตตัวเองลง ซึ่งหลายคนก็คงจะเคยเห็นข่าวในลักษณะนี้อยู่บ้าง

bully หรือการบูลลี่ในโรงเรียน คือการกระทำเชิงลบ ก้าวร้าว การกระทำรุนแรงซ้ำ ๆ ที่มุ่งทำร้ายบุคคลที่ถูกมองว่าอ่อนแอกว่า การกระทำนี้เกิดขึ้นได้ผ่านร่างกาย เช่น การทุบตี เตะต่อย จนเกิดความเจ็บปวดบนร่างกาย หรือกระทำผ่านวาจา เช่น การประนาม ข่มขู่ ยั่วยุ และทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง หรืออาจรวมถึงการกีดกันทางสังคม ความรุนแรงที่เกิดขึ้นส่งผลต่อเด็กที่ตกเป็นเหยื่ออย่างร้ายแรง มีโอกาสสูงที่จะมีปัญหาพฤติกรรมด้านสุขภาพ จิตใจ และการเข้าสังคมอย่างร้ายแรง เช่น ความหวาดระแวง ปัญหาการนอนหลับยาก กลัวการมาโรงเรียน ซึมเศร้า ไม่มีความมั่นใจ รู้สึกไม่ปลอดภัย เหงา และโดดเดี่ยว ซึ่งปัญหานี้ก่อตัวในระยะยาวบางรายที่เคยโดนบูลลี่ในวัยเด็ก ก็จะมีปัญหาความสัมพันธ์กับเพื่อนรอบข้าง และภาวะซึมเศร้าในวัยผู้ใหญ่

ปัญหาการบูลลี่ในโรงเรียนที่พบในประเทศไทยนอกจากจะไม่ลดลงแล้ว ยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นและรุนแรงมากขึ้นอีกด้วย แม้ว่าในทุกครั้งที่สื่อได้นำเสนอข่าวความสูญเสียจากการปัญหาการ bully สังคมก็จะมีการตื่นตัวขึ้นมา แต่ก็ดูเหมือนข่าวเกี่ยวกับการ bully ในโรงเรียนจะมีให้ดูอยู่เรื่อย ๆ ไม่เคยหายไป ทำให้เกิดคำถามว่าที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการแก้ไขปัญหาการ bully อย่างถูกจุดหรือไม่

จากข้อมูลของมูลนิธิสายเด็ก 1387 พบว่ามีการใช้ความรุนแรงในโรงเรียนในหลายรูปแบบ ได้แก่

– ความรุนแรงโดยครู โดยส่วนใหญ่แล้วความรุนแรงที่เกิดขึ้นมักจะถูกครูมองว่าเป็นเพียงการลงโทษที่เหมาะสมกับความผิดของเด็ก เช่น ครูตีเด็กนักเรียนที่ชอบแกล้งเพื่อน ทำให้ความรุนแรงโดยครูยังคงอยู่เสมอมาตามที่ปรากฏให้เห็นในสื่อต่าง ๆ หรือบางกรณีก็ไม่ได้ปรากฏในสื่อแต่ก็ยังมีอยู่ในโรงเรียนแต่เด็กไม่กล้าที่จะบอกใคร รวมถึงครูด้วยกันเองก็มองว่าเป็นการลงโทษตามปกติจึงไม่มีการเปิดเผยรายงานออกมา

– การข่มเหงรังแก เช่น ตี ผลัก ดึงผม แกล้งเรียนชื่อให้อับอาย ทรมาน ฯลฯ ซึ่งส่วนมากข้อมูลเกี่ยวกับการข่มเหงรังแกในโรงเรียนมักไม่มีการแพร่งพรายออกมา โดยเหตุผลที่ทุกคนปิดปากเงียบนั้นมักจะเกี่ยวข้องกับเรื่องของชื่อเสียงและความกลัว

– ความรุนแรงของแก๊ง การตั้งกลุ่มแก๊งของวัยรุ่นทำให้เกิดสถานการณ์ความรุนแรงของแก๊งต่าง ๆ โดยอาจเกิดขึ้นจากการแก้แค้นกันระหว่างกลุ่มวัยรุ่น ซึ่งเป็นปัญหาที่จัดการได้ยากเพราะกว่าจะค้นพบปัญหา ความรุนแรงก็ยกระดับไปแล้ว โดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่ที่กลุ่มวัยรุ่นเริ่มมีการใช้อาวุธและมีการฝึกเตรียมการสำหรับการต่อสู้กันด้วย

ปัญหาการบูลลี่ในโรงเรียนที่พบในประเทศไทยนอกจากจะไม่ลดลงแล้ว ยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นและรุนแรงมากขึ้นอีกด้วย แม้ว่าในทุกครั้งที่สื่อได้นำเสนอข่าวความสูญเสียจากการปัญหาการบูลลี่ สังคมก็จะมีการตื่นตัวขึ้นมา แต่ก็ดูเหมือนข่าวเกี่ยวกับการบูลลี่ ในโรงเรียนจะมีให้ดูอยู่เรื่อย ๆ ไม่เคยหายไป ทำให้เกิดคำถามว่าที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการแก้ไขปัญหาการบูลลี่ อย่างถูกจุดหรือไม่

ในส่วนของปัญหาการบูลลี่ นั้นก็ถือว่าเป็นความรุนแรงในโรงเรียนอย่างหนึ่ง ซึ่งอย่างที่กล่าวไปแล้วว่าที่ผ่านมานั้นมีหลายฝ่ายที่ได้พยายามหาทางแก้ไขปัญหา แต่ก็ดูเหมือนจะยังมีผู้คนบางส่วนที่ไม่เข้าใจปัญหาอย่างรอบด้านจึงไม่สามารถจัดการกับปัญหาได้อย่างจริงจัง

โดยตัวอย่างที่สะท้อนถึงความไม่เข้าใจปัญหาการบูลลี่ ได้แก่

– การมีมุมมองต่อพฤติกรรมการบูลลี่ ว่าเป็นการ “ล้อเล่นขำ ๆ”

– การมีมุมมองต่อนักเรียนที่โดนบูลลี่ แล้วได้รับผลกระทบทางจิตใจว่า “อ่อนแอไม่สู้ชีวิต”

– การมีความเชื่อวิธีการปรับพฤติกรรมของนักเรียนที่ บูลลี่ เพื่อนมีเพียงการลงโทษอย่างรุนแรงเท่านั้น

กรณีศึกษาปัญหาการบูลลี่ในโรงเรียนของเกาหลีใต้

สังคมของเกาหลีใต้นั้นเป็นสังคมที่มีการแข่งขันค่อนข้างสูงในทุก ๆ ด้าน เราคงจะเคยเห็นจากซีรีส์ หรือข่าวอัปเดตด้านการศึกษาว่าเด็ก ๆ ในเกาหลีใต้มักจะถูกกดดันให้ต้องแข่งขันเพื่อประสบความสำเร็จให้มากที่สุด ซึ่งนักเรียนเหล่านี้มักจะไม่มองว่าเพื่อนร่วมชั้นเป็นเพื่อนแต่กลับมองเป็นคู่แข่งมากกว่า

ผลสำรวจจากกระทรวงศึกษาของเขตหนึ่งในเกาหลีใต้พบว่าปี 2018 มีนักเรียนที่ถูกใช้ความรุนแรง และเกิดการบูลลี่ในโรงเรียนเป็นจำนวนมากถึง 118, 260 คน (ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6) โดยการกลั่นแกล้งส่วนใหญ่แบ่งออกเป็น

– การใช้คำพูดรุนแรง 34.1%

– การถูกแยกตัวออกจากสังคม 23.7%

– การทำร้ายร่างกาย 9.6%

– การกระทำไซเบอร์บูลลี่ (Cyberbullying) 8.8%

ซึ่งการกระทำที่รุนแรงส่วนใหญ่นั้นเกิดจาก เพื่อนร่วมชั้นเรียนด้วยกันเอง และเหยื่อของการบูลลี่ในโรงเรียนส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และเมื่อสืบลึกลงไปจะพบว่าเหยื่อเหล่านี้เป็นนักเรียนที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมไม่ค่อยดี ผลการเรียนค่อนข้างต่ำ จึงทำให้พวกเขาถูกบูลลี่ได้มากกว่า แม้ปัจจุบันการทำร้ายร่างกายนั้นลดลง แต่การกลั่นแกล้งด้วยคำพูด และทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงนั้นยังคงมีมากขึ้นกว่าเดิม

ที่ผ่านมาโรงเรียนในเกาหลีใต้ส่วนใหญ่แก้ปัญหาเบื้องต้นด้วยการติดกล้องวงจรปิดทั่วโรงเรียน แต่การบูลลี่ในโรงเรียนมักเกิดขึ้นในจุดที่ลับตาคน มุมที่ไม่สามารถมองเห็น จึงเริ่มมีการส่งเสริมให้คุณครูคอยดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิดมากขึ้น

bully

แนวทางการในการรับมือกับปัญหาการบูลลี่ ในโรงเรียนสำหรับคุณครู ดังนี้

1. หมั่นสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนแต่ละคน 

จากสถิติแล้วการบูลลี่ มักเกิดขึ้นในสถานที่ซ้ำ ๆ เช่น ห้องน้ำ สนามเด็กเล่น บนรถรับส่งนักเรียน โถงทางเดินที่มีคนเยอะ ๆ หรือในโลกออนไลน์ซึ่งเป็นส่วนที่ผู้ใหญ่อาจเข้าถึงปัญหาของเด็กได้ยาก หากมีนักเรียนมาเล่าว่ามีการบูลลี่ เกิดขึ้นในโรงเรียน สิ่งที่คุณครูควรทำเป็นอันดับแรกคือรับฟังโดยไม่มองว่านักเรียนพูดเพ้อเจ้อหรือแค่นินทาเพื่อนให้ฟัง จากนั้นให้หมั่นสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนแต่ละคนเพื่อมองหาจังหวะในการเข้าไปสำรวจปัญหาเพิ่มเติมและให้การช่วยเหลืออย่างเหมาะสม ซึ่งหากมีการบูลลี่ เกิดขึ้นกับนักเรียน คุณครูจำเป็นจะต้องให้การช่วยเหลือทั้งฝ่ายที่บูลลี่ และฝ่ายที่ถูก บูลลี่ เนื่องจากฝ่ายที่ บูลลี่ เองก็อาจจะมีปัญหาเบื้องหลังที่ทำให้เกิดพฤติกรรมรังแกเพื่อน หากลงโทษเพียงอย่างเดียวโดยไม่ได้ค้นหาสาเหตุที่แท้จริง พฤติกรรมที่เป็นปัญหาก็อาจจะยังคงอยู่ และแน่นอนว่าฝ่ายที่ถูก bully ก็ควรได้รับการช่วยเหลือทางด้านจิตใจต่อไป

2. สอนให้นักเรียนรู้จักความเมตตาและเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์

เมื่อพวกเขารู้ปัญหา รู้จักนำเสนอแนวคิด รู้จักมองหลายมุม พวกเขาจะเข้าใจกัน และไม่ค่อยรังแกผู้อื่น ดังนั้นการให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกัน เสริมการเรียนรู้ทางสังคมและอารมณ์ ซึ่งคุณครูสามารถช่วยให้เด็กเข้าใจกันได้ง่ายเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่นได้ดียิ่งขึ้น เช่น การให้เขาได้ลองสวมบทบาทเป็นผู้อื่น พูดคุยถึงความแตกต่างของพวกเขา ให้เขาได้ฝึกแก้ปัญหาความขัดแย้ง และสร้างความเข้าใจต่อคนรอบข้าง

3. เปิดโอกาสสร้างความสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่น

คุณครูสามารถลดการบูลลี่ในโรงเรียนได้ด้วยการคอยสนับสนุนช่วยเหลือ และเยียวยานักเรียนในกลุ่มเป้าหมาย งานวิจัยหนึ่งพบว่าการชวนนักเรียนที่มีความรู้สึกผูกพันธ์กับเพื่อน ๆ ในห้องจะสามารถรับมือกับการถูกรังแกได้ดีขึ้น และยังระบุต่อว่าเมื่อนักเรียนเจอพฤติกรรมการบูลลี่ในโรงเรียน พวกเขาจะเริ่มต่อต้าน จนสามารถลดปัญหาการบูลลี่ในโรงเรียนในอนาคตได้มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์

4. สื่อสารกับผู้ปกครองและนักเรียนให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาการบูลลี่

ปัญหาการ bully จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือกันหลายฝ่ายในการรับมือ เนื่องจากคุณครูเองก็อาจมีภาระงานหลายด้านและต้องดูแลนักเรียนเป็นจำนวนมาก หากโยนหน้าที่ในการรับมือกับปัญหาการบูลลี่ ในโรงเรียนให้คุณครูเป็นผู้รับผิดชอบฝ่ายเดียวก็อาจทำให้คุณครูเกิดภาวะหมดไฟในการทำงานได้ การรับมือกับปัญหาแบบเป็นทีมจึงมีความสำคัญ โดยอาจจะจัดเป็นการอบรมหรือสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับการบูลลี่ ให้นักเรียนได้ตระหนักถึงผลกระทบของการบูลลี่ และรู้ว่าจะขอความช่วยเหลือได้จากใครบ้างหากปัญหาเกิดขึ้นกับตนเอง รวมถึงสร้างความเข้าใจกับผู้ปกครองเกี่ยวกับวิธีการดูแลลูกที่ถูกบูลลี่ รวมถึงวิธีการป้องกันไม่ให้ลูกเป็นฝ่ายบูลลี่ คนอื่น

5. ศิลปะการละคร สร้างบริบทที่มีประสิทธิภาพ

ศิลปะถือเป็นเครื่องมืออีกอย่างที่ช่วยให้นักเรียนมองเห็นถึงสถานการณ์จากมุมมองที่แตกต่างกัน การนำละคร วรรณกรรม เข้ามาใช้ในบทสนทนาสามารถช่วยให้นักเรียนเข้าใจถึงผลกระทบด้านลบของการบูลลี่ในโรงเรียนโดยคุณครูสามารถดึงความน่าสนใจจากประเด็นที่เกิดขึ้นในเรื่องมาสร้างพื้นที่ปลอดภัย และเปิดกว้างให้นักเรียนทุกคนได้มีโอกาสพูดคุยกันเกี่ยวกับการกลั่นแกล้ง

6. จัดการเรียนการสอนให้มีบรรยากาศที่ปลอดภัย

ในยุคสมัยใหม่คุณครูจำเป็นต้องมีบทบาทในการเป็นโค้ชเพิ่มขึ้นมาด้วย โดยคุณครูต้องทำหน้าที่โค้ชให้นักเรียนมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ รวมไปถึงคุณครูควรเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่นักเรียนในการไม่ บูลลี่ คนอื่น การเคารพและให้เกียรติคนอื่น การไม่ข่มแหงรังแกคนอื่นที่ด้อยกว่า และควรเข้าไปแทรกแซงทันทีที่เห็นนักเรียนมีพฤติกรรมข่มเหงรังแกเพื่อน

นักการศึกษาท่านหนึ่งเคยเล่าว่า “โรงเรียนแห่งหนึ่งมีการรังแกกันในวัฒนธรรมของผู้ใหญ่” ซึ่งนักเรียนเหล่านั้นรู้สึกถูกรังแกจากครูท่านอื่นด้วย ทำให้พวกเขารู้สึกว่า “หากอยู่ในวัฒนธรรมการรังแกของผู้ใหญ่ พวกเขาจะต้องขยันมากยิ่งขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าการกระทำเหล่านี้จะไม่ลงเอยในห้องเรียน”

เพราะสาเหตุของการรังแกนั้นเป็นบ่อเกิดของความตึงเครียด การมีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียน ความคิดเชิงลบ ที่อาจจะมีผลกระทบต่อห้องเรียนได้ ดังนั้นการจะสร้างคุณภาพสังคมในโรงเรียนให้ดีขึ้น ปัญหาวัฒนธรรมของผู้ใหญ่ในโรงเรียนก็ควรได้รับการแก้ไขเช่นกัน

สรุป

การบูลลี่ในโรงเรียน ปัญหาสังคมที่หวังว่าสักวันจะจางหาย เพราะเวลาส่วนใหญ่ของชีวิตในวัยเรียนนั้นจะอยู่ที่โรงเรียน แม้จำนวนชั่วโมงของการอยู่บ้านจะมากกว่า แต่เวลาส่วนหนึ่งเมื่ออยู่ที่บ้านจะเป็นช่วงเวลาที่นอนหลับ  ดังนั้น ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในโรงเรียนจึงมีความสำคัญต่อพื้นฐานจิตใจและการเรียนรู้ สิ่งสำคัญในการลดปัญหาการบูลลี่ในโรงเรียน คือ การพยายามปรับปรุงแก้ไข วัฒนธรรมที่เต็มไปด้วยความตึงเครียดให้ลดลง ทำให้โรงเรียนเป็นพื้นที่ปลอดภัย และเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ที่สนุกสนาน และเป็นสุขอย่างที่ควรจะเป็น แม้อาจจะไม่ใช่สิ่งที่แก้ไขได้ง่าย แต่หากเราเริ่มที่จะป้องกันอย่างจริงจัง ก็จะสามารถช่วยเติมน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย ให้กับเมล็ดพันธุ์น้อย ๆ เติบโตไปอย่างงดงาม และก้าวข้ามผ่านปัญหาไปได้

แหล่งที่มา

https://www.aksorn.com/bullying-in-schools
https://www.istrong.co/single-post/coping-with-bullying-in-school-for-teachers

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ thirtyonethirty.com

แทงบอล

Releated