เนื้อหาวิทยาศาสตร์

เทคนิคเก็บประเด็นสำคัญของวิชาวิทยาศาสตร์ชั้นวัยประถม 6

สำหรับคนที่ผ่านช่วงชั้นวัยประถม 6 มาแล้วก็คงคิดว่าเนื้อหามันง่ายจริงๆ แทบจะไม่ต้องใช้เทคนิคอะไรเลยด้วยซ้ำก็สามารถทำผลการเรียนให้ดีได้อย่างที่ใจต้องการ แต่ถ้าลองนึกย้อนไปให้ดีๆ แล้วตอนที่เราเรียนอยู่ก็รู้สึกว่ามันยากพอสมควรเหมือนกัน เพราะอะไรๆ ก็เป็นเรื่องแปลกใหม่ไปเสียหมด แถมเนื้อหาวิชาการในปัจจุบันก็ยังเพิ่มระดับความเข้มข้นขึ้นอีกด้วย แม้ว่าจะเรียนอยู่เพียงแค่ชั้นประถมศึกษาก็ต้องการเคล็ดลับ และตัวช่วยที่จะทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเช่นกัน

วิธีการเก็บประเด็นสำคัญของเนื้อหาวิทยาศาสตร์

อะไรก็ตามที่เรารู้แน่ชัดว่าทำไปเพื่อหวังผลอะไร มันจะเกิดกระบวนการทำงานที่ตรงเป้าหมายขึ้น และทุกการลงมือทำก็จะส่งผลกระทบในแบบที่ต้องการเสมอ ไม่มีอะไรที่ทำไปแล้วเสียเปล่า ในขณะเดียวกันถ้าเราเรียนไปโดยไม่รู้เลยว่าเรียนทำไม ขอแค่เรียนให้ครบๆ ไป แบบนี้จะจับจุดอะไรไม่ได้แล้วก็อาจเสียเวลาไปกับการทำงานที่ไร้ประโยชน์อยู่เรื่อยๆ ลองมาดูเทคนิคที่จะเก็บประเด็นสำคัญของเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ การลงมือทำให้ตรงเป้าหมายกันดีกว่าว่ามีอะไรที่สามารถจะนำเอาไปปรับใช้กันได้บ้าง

1. จุดประสงค์การเรียนรู้สำคัญที่สุด มันเป็นใบเบิกทางที่ดีที่ควรจะต้องอ่านทำความเข้าใจก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อจะได้รู้ว่าเป้าหมายของเนื้อหาแต่ละส่วนต้องการให้เกิดความเข้าใจในมุมไหนบ้าง เวลาที่ไปศึกษาจริงจะได้ทิ้งส่วนที่ไม่จำเป็นออกไป ลดภาระในการจดจำของเราได้ค่อนข้างมากทีเดียว

เนื้อหาวิทยาศาสตร์

2. จดจำ และทำความเข้าใจนิยามให้ได้ โดยใช้การอธิบายเป็นภาษาของเราเองในรอบแรกที่อ่านก่อน ดูว่าเราเข้าใจอย่างไร จากนั้นไปลงรายละเอียดในส่วนของเนื้อหาให้ครบ แล้วกลับมาดูอีกทีว่านิยามที่เราเคยเข้าใจนั้นยังเป็นความหมายเดิมอยู่หรือไม่ วิธีนี้จะช่วยให้เราเจอแก่นของเนื้อหาจริงๆ

3. เนื้อหาที่ค่อนข้างซับซ้อนให้จำร่วมกับภาพ สมองของเราจะจำภาพได้ดี จำได้ยาวนาน ดังนั้นหากมีส่วนไหนที่สำคัญแต่ท่องในลักษณะของข้อความได้ลำบาก ก็ให้ผูกข้อความเหล่านั้นกับรูปภาพที่เกี่ยวข้อง เมื่อไหร่ที่มองเห็นภาพหรือนึกภาพขึ้นมาได้ก็จะนึกถึงข้อความที่เราผูกเอาไว้ด้วย

4. เชื่อมโยงเนื้อหากับสิ่งของที่จับต้องได้ ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ของระดับประถมศึกษาปีที่ 6 จะมีหลายส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน หากได้เรียนรู้เนื้อหาไปพร้อมๆ กับการได้สัมผัสของจริง ก็จะเป็นการใช้ระบบประสาทสัมผัสหลายส่วนในเวลาเดียวกัน การจดจำ ทำความเข้าใจก็เกิดได้ง่ายขึ้น

5. ทำแบบฝึกหัดให้ครบถ้วน ทุกแบบฝึกหัดที่มีมาให้ผ่านการคิด และไตร่ตรองมาอย่างดีแล้วว่าจะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ดี และไม่มีอะไรให้ประสบการณ์ได้ดีไปกว่าการลงมือทำด้วยตัวเอง ดังนั้นอย่าได้เบื่อหน่ายกับการทำแบบฝึกหัดเลย แม้ว่าบางครั้งมันอาจจะดูว่ามีปริมาณเยอะไปบ้าง แต่ก็ไม่มีทางเกินความสามารถของคนๆ หนึ่งที่ตั้งใจจะทำไปได้

6. หาคู่บัดดี้ในการเรียนรู้ เป็นอีกวิธีที่สนุกและได้ผลจริง คือการหาเพื่อนที่จะช่วยกันเรียนในรายวิชานั้นๆ และหากิจกรรมทำร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ เช่น แบ่งเนื้อหาในแต่ละบทไปอ่านคนละครึ่ง แล้วมาอธิบายให้อีกฝ่ายฟัง คนที่อธิบายก็จะได้ความเข้าใจเนื้อหาส่วนของตัวเองชัดเจนขึ้น คนที่รับฟังก็จะสะดวกเวลากลับไปทบทวนด้วยตัวเองอีกครั้ง หรือเล่นเกมส์ถาม-ตอบ โดยเอาเนื้อหาในหนังสือมาลองถามอีกฝ่าย แล้วให้สลับกันตอบไปเรื่อยๆ อาจเพิ่มความสนุกด้วยการมีของรางวัลเล็กๆ น้อยๆ สำหรับผู้ชนะด้วยก็ได้

ติดตามเพิ่มเติมได้ที่ thirtyonethirty.com

Releated